เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2566 สถานการณ์น้ำมันดิบตลาดโลก แนวโน้มราคาทรงตัว หลังซาอุดีอาระเบียจะขยายเวลาลดกำลังผลิตน้ำมันดิบ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงเดือน ส.ค. 66
รวมถึงรัสเซียก็จะลดการส่งออกน้ำมันราว 500,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน ส.ค. เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดรวมกันคิดเป็นสัดส่วน 1.5% ของอุปทานน้ำมันดิบโลก
ทั้งนี้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และพันธมิตร หรือโอเปกพลัส (OPEC+)
ต้องการต้องการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันดิบจากภาพเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ หลังภาคการผลิตในเดือน มิ.ย. ของจีน สหรัฐฯ และยุโรป หดตัวลง ซึ่งกระทบกับความต้องการใช้น้ำมัน
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบทั่วโลกล่าสุดวันนี้ 4 ก.ค. 66 เวลา 11.40 น.
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ปรับขึ้น 0.41 ดอลลาร์ หรือ +0.55% ล่าสุดอยู่ในระดับ 75.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเวสต์เท็สซัส (WTI) ปรับขึ้น 0.40 ดอลลาร์ หรือ +0.57% ล่าสุดอยู่ในระดับ 70.19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ทั่วโลกต้องการน้ำมันพุ่งสูงสุดรอบ 19 ปี หลังพ้นโควิด จับตา "ไฮโดรเจน" พลังงานทางเลือก
ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาดแข็งค่าหลุด 35 ได้ข้อยุติประธานสภาฯ
ฝ่ายแผนและบริหารบริษัทในเครือ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT รายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยลดลงกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยนักลงทุนกังวลอุปสงค์พลังงานโลกอาจชะลอการฟื้นตัว หากธนาคารกลางรายใหญ่ยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อาจทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศส่งสัญญาณชะลอตัวในเดือน มิ.ย. 66 เช่น S&P Global รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของเกาหลีใต้ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 0.6 จุด อยู่ที่ 47.8 จุด ลดลงติดต่อกัน 3 เดือน
และ Jibun Bank/Markit รายงาน PMI ของญี่ปุ่นลดลงจากเดือนก่อนหน้า 0.8 จุด อยู่ที่ 49.8 จุด และ Caixin รายงาน PMI ของจีน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 0.4 จุด อยู่ที่ 50.5 จุด ทั้งนี้ PMI ต่ำกว่า 50 จุดบ่งชี้ภาวะถดถอยและสูงกว่า 50 จุด บ่งชี้ภาวะขยายตัว
ขณะที่ ประธานาธิบดีรัสเซีย ลงนามขยายระยะเวลามาตรการห้ามขายน้ำมันให้กับประเทศที่จำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย ไปจนถึงสิ้นปี 2566 หลังใช้มาตรการดังกล่าวมานาน5 เดือน เพื่อตอบโต้กลุ่ม G7 จำกัดเพดานราคาน้ำมันเฉพาะรัสเซีย เนื่องจากสงครามในยูเครน
ทั้งนี้ ปตท.คาดการณ์ราคา ICE Brent สัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล จากความไม่แน่นอนในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรปในระยะยาว หลังหัวหน้ากองทหารรับจ้างแวกเนอร์ ซึ่งเป็นกบฏต่อรัฐบาลรัสเซีย ขอลี้ภัยอยู่ในเบลารุส
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) นาย Jerome Powell ส่งสัญญาณในงาน ECB Forum on Central Banking 2023 ที่เมือง Sintra ประเทศโปรตุเกส ว่า Fed อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม 2 ครั้งติดต่อกัน จากระดับปัจจุบันที่ 5%-5.25% เนื่องจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง
- บนเวทีเดียวกัน ประธานธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) นาง Christine Lagarde ส่งสัญญาณสอดคล้องกับ Fed ว่า ECB อาจจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในการประชุมวันที่ 27 ก.ค. 66 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อเช่นกัน
- ประธานองค์กรปิโตรเลียมของญี่ปุ่น (PAJ) นาย Shunichi Kito เผยว่าซาอุดีอาระเบียยังคงส่งมอบน้ำมันดิบแบบสัญญาระยะยาว (Term) ให้โรงกลั่นญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. 66 เต็มตามจำนวนที่เรียกขอ แม้ว่าซาอุดีอาระเบียจะประกาศลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบปริมาณ 1 MMBD ในเดือน ก.ค. 66 ทั้งนี้ญี่ปุ่นนำเข้าน้ำมันดิบจากซาอุดีอาระเบียในช่วง ม.ค.- เม.ย. 66 คิดเป็น 41.4% (1.12 MMBD) ของปริมาณที่นำเข้าทั้งหมด
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
- Bloomberg รายงานรัสเซียส่งออกน้ำมันดิบทางทะเล สัปดาห์สิ้นสุด 25 มิ.ย. 66 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 2.55 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากท่าส่งออกปิดซ่อมบำรุง
- EIA ของสหรัฐฯ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ สัปดาห์สิ้นสุด 23 มิ.ย. 66 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 9.6 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 453.7 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน