รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ขณะนี้ภาพรวมการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะ(เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร(กม.) มี 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท มีความคืบหน้า 14.14% ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม., อยู่ระหว่างก่อสร้าง 9 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 2 – 1 ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11 กมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. คืบหน้า 92.65%, สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.2 กม. คืบหน้า 1.89%,
สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.1 กม. คืบหน้า 11.34%, สัญญาที่ 3 – 4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.4 กม. คืบหน้า 34.13%, สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กม. คืบหน้า 2.35%, สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. คืบหน้า 0.07%, สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. คืบหน้า 3.65%, สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม. คืบหน้า 0.11% และสัญญาที่ 4 – 7 ช่วงสระบุรี – แก่งคอย ระยะทาง 12.9 กม. คืบหน้า 26.18%, ลงนามสัญญาแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างต้นปี 66
อยู่ในขั้นตอนประกวดราคา(ประมูล) รอลงนามสัญญา 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.2 กม. อยู่ระหว่างรอการพิจารณาของศาลปกครอง เนื่องจากมีการฟ้องร้องกันในขั้นตอนการประมูล, สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. อยู่ระหว่างแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน จะเป็นผู้ก่อสร้างงานโครงสร้างร่วมในช่วงที่มีแนวเส้นทางทับซ้อนกัน ตามมาตรฐานของรถไฟไฮสปีดไทย-จีน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างต้นปี 66คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. อยู่ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดตอบกลับมายัง รฟท ว่าสามารถลงนามกับ บริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ผู้รับจ้างสัญญาที่ 4-5 แบบมีเงื่อนไขได้หรือไม่ โดยจะก่อสร้างส่วนอื่นไปก่อน ยกเว้นช่วงสถานีอยุธยา ส่วนกระบวนการคัดเลือกที่ปรึกษาดำเนินโครงการงานบริการที่ปรึกษา เพื่อจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โครงการรถไฟไฮสปีด ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมานั้น ขณะนี้ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำ HIA วงเงิน 33.45 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน ทั้งนี้การทำ HIA สามารถดำเนินการคู่ขนานไปกับการก่อสร้างสัญญาที่ 4-5 ได้เลย จึงไม่กระทบต่อการก่อสร้างแต่อย่างใด
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ อ.ลำลูกกา อ.ธัญบุรี อ.คลองหลวง อ.เมืองปทุมธานี อ.สามโคก จ.ปทุมธานี อ.บางปะอิน อ.พระนครศรีอยุธยา อ.อุทัย อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา อ.หนองแซง อ.เสาไห้ อ.เมืองสระบุรี อ.แก่งคอย อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และ อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 1 แล้ว หลังจากนี้งานก่อสร้างรถไฟไฮสปีดจะไฮสปีดสมชื่อ ซึ่ง รฟท. กำลังเร่งงานเวนคืน หากชาวบ้านพอใจราคาประเมิน คาดว่า รฟท. จะได้รับที่ดินพื้นที่แรกช่วงต้นปี 66 โดยการเวนคืนใช้งบประมาณ 3.9 พันล้านบาท รฟท. ตั้งเป้าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมทั้งทดสอบเดินรถเสมือนจริงในปี 69 ก่อนเปิดให้บริการต้นปี 70
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมานั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเริ่มงานก่อสร้างโครงการสัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก โดยให้กรมทางหลวง (ทล.) ก่อสร้างคันทางเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 60 รวมแล้วเกือบครบ 5 ปี แต่งานก่อสร้างยังมีความล่าช้า เนื่องจากปัญหาอุปสรรคต่างๆ หลังจากนี้หวังว่างานก่อสร้างรถไฟไฮสปีดสายแรกของไทยจะไฮสปีดสมชื่อ